messager
 
เทศบาลตำบลไชยปราการ call ข้อมูลการติดต่อ


เทศบาลตำบลไชยปราการ
อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-457369 - 71 Fax : 053-457360

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลไชยปราการ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
info_outline วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น (VISSION)
ไชยปราการเมืองน่าอยู่ อนุรักษ์เชิดชูประเพณีวัฒนธรรม เกษตรกรรมนำเศรษฐกิจ มีคุณภาพชีวิตที่ดีทุกชุมชน วิสัยทัศน์ เมื่อปี พ.ศ.2565

พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น (MISSION)
1.พันธกิจด้านโครงสร้างพื้นฐาน/เศรษฐกิจ เป็นเมืองที่มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่สนองตอบต่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 2. พัฒนธกิจด้านการศึกษา/ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นท้องถิ่นที่มีการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ มีการใช้ ศักยภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาในด้านการศึกษา อบรมทั้งในและนอกระบบ กิจกรรมทาง ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นได้รับการสืบสาน โดยมีองค์กรชุมชน/หมู่บ้าน เป็นแกนนำในการพัฒนา 3. พันธกิจด้านสุขภาพอนามัยและบริการสาธารณสุข มีระบบบริการสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐาน ที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต การมีสุขภาพดี มีสภาพ แวดล้อมที่ดี โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการรักษาอนามัยชุมชน และเมืองน่าอยู่ ลดปัญหายาเสพติด มีสวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชน 4. พันธกิจด้านการเมืองการปกครอง มีการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองการบริหารท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินจ วางแผนและร่วมดูแลรักษาทรัพย์สินสมบัติท้องถิ่น มีการสนับสนุนระบบการปกครอง และวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยในทุกระดับ 5. พันธกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการอนุรักษ์และปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมมีการจัดการด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

คำขวัญของเทศบาลตำบลไชยปราการ
บริการเป็นเลิศ เชิดชูวัฒนธรรม เน้นนำการศึกษา บูชาพระเจ้าพรหม รื่นรมย์เมืองคาร์บอนต่ำ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558

ความหมายคำขวัญ
บริการเป็นเลิศ หมายถึง เทศบาลตำบลไชยปราการเน้นการบริการให้กับประชาชนทุกระดับที่เข้ามาใช้บริการกับเทศบาลฯ อย่างเท่าเทียมกันและรวดเร็ว ภายใต้อำนาจหน้าที่การให้บริการของเทศบาลฯ ให้กับประชาชน เชิดชูวัฒนธรรม หมายถึง เทศบาลตำบลไชยปราการเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการสืบสานประเพณี, จารีตประเพณีในท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่ดีงามที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้คงสืบไป เน้นนำการศึกษา หมายถึง เทศบาลตำบลไชยปราการเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา ทุกระดับในพื้นที่ เช่น การจัดตั้งโรงเรียนเทศบาล 1 ไชยปราการ สังกัดเทศบาลตำบลไชยปราการ การส่งเสริมการศึกษาของโรงเรียนในเขตเทศบาลฯ สนับสนุน การอบรม การศึกษาดูงาน ของแต่ละกลุ่ม เช่น อสม. กรรมการหมู่บ้าน กลุ่มสตรีแม่บ้าน ผู้สูงอายุ และยังส่งเสริมให้บุคลากรของเทศบาลตำบลไชยปราการให้ได้รับการอบรม ศึกษาตามหลักสูตรต่างๆ นอกจากนี้ยังมีนโยบายที่จะจัดตั้งโรงเรียน อสม. โรงเรียนผู้สูงอายุ และจะจัดตั้งศูนย์ ICT ชุมชน ในอนาคต บูชาพระเจ้าพรหม หมายถึง เทศบาลตำบลไชยปราการเป็นหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ ที่มีประวัติมายาวนาน ผู้ที่ตั้ง “เวียงไชยปราการ” สมัยโยนก-ล้านนา คือ พระเจ้าพรหมกุมาร หรือ พระเจ้าพรหมมหาราช ปัจจุบันได้ประดิษฐานของอนุสาวรีย์ของพระเจ้าพรหมมหาราชผู้สร้างนครไชยปราการ ณ วัดพระเจ้าพรหมมหาราช บ้านป่าแดง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนั้ยังมีศิลปะการก่อสร้างที่เก่าแก่สวยงามเป็นศิลปกรรมแบบล้านนา เป็นที่ มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมและสักการะอนุสาวรีย์ของพระเจ้าพรหมมหาราชอยู่ เป็นประจำ (สามารถอ่านประวัติพระเจ้าพรหมมหาราช ฉบับย่อ ได้ตามเอกสารแนบท้ายนี้) รื่นรมย์เมืองคาร์บอนต่ำ หมายถึง เป็นศูนย์การเรียนรู้ของเทศบาลตำบลไชยปราการ ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ เมืองแห่งต้นไม้, เมืองไร้มลพิษ, เมืองพิชิตพลังงาน และเมืองที่มีการบริโภคอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน เมืองคาร์บอนต่ำ

chat ข้อมูลหน่วยงาน
ภาพ




ประวัติของเทศบาลตำบลไชยปราการ
เทศบาลไชยปราการเดิมประกาศเป็นสุขาภิบาล ไชยปราการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 และเทศบาลตำบลไชยปราการ ได้รับการปรับชั้น เทศบาลเป็นชั้น 6 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2542 และยกฐานเป็นเทศบาลขนาดกลาง จนถึงปัจจุบัน หลังจากได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหาร ราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 มีพื้นที่การปกครอง 5.85 ตร.กม. ต่อมาได้ประกาศเปลี่ยนแปลง ขยาบเขต เทศบาลตำามประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2512 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 86 ตอนที่ 117 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2512 ขยายเขตจากเดิม 5.85 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 18.26 ตร.กม. การยุบรวม อปท. เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2547 ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวม องค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล ได้รวม องค์การบริหารส่วนตำบล ปงตำเข้าไว้กับ เทศบาล ตำบลไชยปราการ จนทำให้มีเนื้อที่ในความรับผิด ชอบทั้งหมดรวมเป็น 49.13 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบัน เทศบาลตำบลไชยปราการ ได้ย้ายมา สำนักงานแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ต้งอยู่เลขที่ 702 ม.2 ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ มีเนื้อที่ 31 ไร่ 3 งาน 25 ตารางวา (ที่มา ข้อมูล: งานพัสดุ กองคลัง) ซึ่งเป็นสำนักงานราชการ ที่กว้างใหญ่ ภายในสำนักงานยังมีอาคารป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย, โรงเรียนเทศบาล 1 เทศบาล ตำบลไชยปราการ, อาคารอเนกประสงค์ชั้นลอย และ สนามฟุตบอล 7 คน ฯลฯ เป็นต้น

เอกสารจัดตั้งและควบรวมหน่วยงาน

ดวงตราสัญญาลักษณ์ของเทศบาลตำบลไชยปราการ


ความหมายของตราสัญลักษณ์
1.เป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร 2. วงกลมข้างนอกเขียนว่า "เทศบาลตำบลไชยปราการ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่" 3. วงกลมวงใน 3.1. มีรูปภูเขา หมายถึง ดอยเวียงผา 3.2. มีรูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองเวียงไชยปราการ

ดอกไม้ประจำเทศบาล

ความหมายของดอกไม้ประจำเทศบาล
ดอกเอื้องคำ เป็นดอกไม้ประจำของเทศบาลตำบลไชยปราการ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง ดอกเอื้องงามปี๋ใหม่เมือง สามารถอ่านบทความและความหมายของ ดอกเอื้องคำได้ ที่นี้ https://www.royalparkrajapruek.org/News/news_detail?newsid=321

ข้อมูประชากร
ข้อมูลจำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ ณ เดือน สิงหาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 15,450 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 7,824 คน หญิง จำนวน 7,626 คน รวมทั้งหมด จำนวน 15,450 คน และมีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 6,701 หลัง ข้อมูล มีดังนี้ ตำบลปงตำ จำนวน 3,207  หลัง ตำบลศรีดงเย็น จำนวน 2,437  หลัง ตำบลหนองบัว จำนวน 1,057  หลัง รวมทั้งหมด จำนวน 6,701 หลัง หมายเหตุ : ข้อมูลจาก งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาลตำบลไชยปราการ ณ วันที่ สิงหาคม 2566

สามารถ Download ไฟล์ .xls ของข้อมูลประชากรและครัวเรือนได้ ที่นี้

สภาพทั่วไปของเทศบาล
เทศบาลตำบลไชยปราการ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ทางทิศเหนือของ จังหวัดเชียงใหม่ ระยะห่างจากตัว จังหวัดประมาณ 127 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 850 กิโลเมตร ทางทิศใต้ของอำเภอ ไชยปราการ มีเส้นทางคมนาคม ติดกับอำเภอเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่ ระยะ ทาง ประมาณ 60 กิโลเมตร ทางทิศเหนือของอำเภอ ไชยปราการ มีเส้นทางคมนาคม ติดกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลตำบลไชยปราการ มีพื้นที่รวม 49.13 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 3 ตำบล 20 หมูบ้าน ของ อำเภอไชยปราการคือ 1. ตำบลปงตำ มี 8 หมู่บ้าน ได้แก่ 1.1 บ้านปงตำ หมู่ 1 ตำบลปงตำ 1.2 บ้านท่า หมู่ 2 ตำบลปงตำ 1.3 บ้านปางควาย หมู่ 3 ตำบลปงตำ 1.4 บ้านมิตรอรัญ หมู่ 4 ตำบลปงตำ 1.5 บ้านป่ารวก หมู่ 5 ตำบลปงตำ 1.6 บ้านห้วยม่วง หมู่ 6 ตำบลปงตำ 1.7 บ้านห้วยปง หมู่ 7 ตำบลปงตำ 1.8 บ้านทุ่งยาว หมู่ 8 ตำบลปงตำ 2. ตำบลหนองบัว มี 3 หมู่บ้าน ได้แก่ 2.1 บ้านเด่น หมู่ 1 ตำบลหนองบัว 2.2 บ้านห้วยไผ่ หมู่ 2 ตำบลหนองบัว 2.3 บ้านหนองบัว หมู่ 3 ตำบลหนองบัว 3. ตำบลศรีดงเย็น มี 9 หมู่บ้าน ได้แก่ 3.1 บ้านแม่ขิ หมู่ 1 ตำบลศรีดงเย็น 3.2 บ้านแม่ขิหล่ายฝาง หมู่ 2 ตำบลศรีดงเย็น 3.3 บ้านศรีดงเย็น หมู่ 3 ตำบลศรีดงเย็น 3.4 อินทราราม หมู่ 4 ตำบลศรีดงเย็น 3.5 บ้านอ่าย หมู่ 5 ตำบลศรีดงเย็น 3.6 บ้านทรายขาว หมู่ 7 ตำบลศรีดงเย็น 3.7 บ้านดงป่าสัก หมู่ 9 ตำบลศรีดงเย็น 3.8 บ้านเชียงหมั้น หมู่ 15 ตำบลศรีดงเย็น 3.9 บ้านใหม่ศรีดงเย็น หมู่ 17 ตำบลศรีดงเย็น อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า

สภาพภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลไชยปราการมีพื้นที่ 49.13 ตารางกิโลเมตร มีแนวภูเขาล้อมรอบ ลักษณะ เอียงลาดไปทางทิศตะวันออกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมมีลำธารและลำห้วยไหลลงสู่ แม่น้ำฝางที่ไหลผ่านเขตเทศบาลไปทางทิสเหนือ ซื่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ใช้ในการเกษตรกรรม ได้ทุกฤดูกาล

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป ในช่วงฤดูร้อนจะร้อนระดับปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวจะหนาวจัด ฤดูฝนจะมีฝนตกซุก เหมาะสำหรับการทำการเกษตรกรรม

สภาพสังคม
ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเะทศบาล โดยภาพรวมแล้วเป็นสังคมแบบกลุ่ม ชาวบ้านดั้งเดิมนี้ จะถือปฎิบัติขนบธรรมเนียม และประเพณีท้องถิ่นโดยเคร่งครัด กลุ่มชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่ใหม่ ซึ่งมาตั้งรกรากอยู่ในเขตเทศบาล ส่วนประชากรแฝงในเขตเทศบาล ยังมีจำนวนหนึ่ง เนื่องจากมีจำนวน ประชากร ที่เป็นผู้ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ แต่ยังไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน เข้ามาด้วย ได้แก่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และแรงงานที่เข้ามาทำงานในเขตเทศบาล ที่มาเช่าอาศัยอยู่ตามบ้านพัก โดยไม่มีหลักฐาน ทางทะเบียนอีกจำนวนมาก

สภาพเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม
ท้องถิ่นไชยปราการ เป็นชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นจากการที่มีภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีลำน้ำฝาง ไหลผ่าน มีความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ และพื้นที่เหมาะแก่การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่จึงมี อาชีพเกษตรกร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ลิ้นจี่ ลำไย ส้ม กระเทียม หอมแดง และมีสัตว์เลี้ยง 1. อาคารพาณิชย์ จำนวน 168 แห่ง 2. อาคารที่พักอาศัย จำนวน 11,409 แห่ง 3. โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 1 แห่ง 4. ตลาดสด (ขนาดใหญ่) จำนวน 1 แห่ง 5. ธนาคาร จำนวน 5 แห่ง 6. ส่วนราชการ จำนวน 27 แห่ง 7. สถานศึกษา จำนวน 9 แห่ง 8. ตลาดนัด จำนวน 2 แห่ง 9. สหกรณ์การเกษตร จำกัด จำนวน 3 แห่ง 10. โรงแรม (ห้องพัก) จำนวน 13 แห่ง 11. โรงฆ่าสัตว์ จำนวน 1 แห่ง 12. โรงแว็กซ์ จำนวน 2 แห่ง (แหล่งข้อมูล : งานแผนที่ภาษี ฝ่ายพัฒนารายได้ กองคลัง เมื่อเดือน กันยายน 2566) นอกจากนี้ ประชากรในเขตเทศบาลนอกจากจะมีอาชีพเป็นเกษตรกรเป็นอันดับหนึ่งแล้ว ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้างในภาครัฐและภาคเอกชน รับจ้างทั่วไป รองลงมาจากการประกอบ อาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจเป็นต้น

directions_car แหล่งท่องเที่ยวในเขต/ในอำเภอ
ภาพ


หุ่นขี้ฝึ้ง ครูบาคำเหมย
วัดศรีดเย็น มีหุ่นขี้ผึ้ง ของพระนักพัฒนา รูปหนึ่ง นามว่า "ครูบาคำเหมย มงฺคลิโก" ตั้งอยู่ที่ วัดศรีดงเย็น ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

ภาพ


ป่าชุมชนห้วยบง
ในเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และระบบนิเวศทาง ธรรมชาติ คือ ป่าชุมชนห้วยบง ภายในป่าชุมชนห้วยบง จะมีน้ำตกและอ่างเก็บน้ำห้วยบง (เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำ ขนาดเล็กเพื่อใช้ในการเกษตร ภายในตำบลและพื้นที่ ใกล้เคียง มีทิวทัศน์สวยงามสามารถพักผ่อนได้ตาม ธรรมชาติ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ และพักผ่อนตามอัธยาศัย) เป็นต้น ตั้งอยู่หมู่บ้านห้วยบง หมู่ที่ 7 ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

ภาพ




หมู่บ้านห้วยบง(ปกาเกอะญอ)
บ้านห้วยบง ม.7 ต.ปงตำ เป็นหมู่บ้านนับถือ ศาสนาคริสต์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เวลาว่างจะทอผ้าใส่เอง จนกลายเป็น สินค้า OTOP ของหมู่บ้าน และเป็นสินค้าส่งออก ทั้งในและต่างประเทศ

ภาพ


ฝายบ้านปงตำ
เป็นอาคารทดน้ำประเภทหนึ่ง ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณ ที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถ กักตะกอนได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถ ชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอน ไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง ซึ่งเป็นวิธีการ อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมาก อีกวิธีหนึ่ง นอกจากนั้น ยังเป็น แหล่งพักผ่อนทางธรรมชาติที่นักท่องเที่ยว สามารถมาทำกิจกรรมได้เช่น การตกปลา เป็นต้น

ภาพ


สวนสุขภาพบ้านเชียงหมั้น
สวนสุขภาพบ้านเชียงหมั้น (Fitnees Gardens) เป็นสวนสาธารณะอีกรูปแบบที่เป็นเครื่องเล่นออกกำลัง กาย เป็นที่นิยมและพัฒนากันมากที่เดี่ยว และยังมีฝาย กั้นน้ำอยู่ข้างๆ อีกด้วย

ภาพ




วัดถ้ำตับเตา
ตั้งอยู่ที่ ม.13 ต.ศรีดงเย็น ภายในวัดมี 2 ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำแจ้ง ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณและถ้ำมืด ประดิษฐานเจดีย์นิ่ม สิ่งมหัศจรรย์ อีกอย่างหนึ่งของ อำเภอไชยปราการ

ภาพ




วัดพระเจ้าพรหมมหาราช
วัดพระเจ้าพรหมมหาราชเป็นวัดประจำ อำเภอ ไชยปราการ เป็นที่ตั้งศาลหลักเมือง, สังขารของหลวง พ่อบุญเย็น ฐานธัมโม หรือหลวงพ่อประกาศิตบุญเย็น, ประดิษฐานอนเุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช และพระพุทธมหามงคล ตั้งอยู่ที่ บ้านป่าไม้แดง หมู่ที่9 ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

ภาพ




หมู่บ้านหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา
บ้านสันทราย หรือสันทราบปั้นหม้อ ม.12 ต.ศรีดงเย็น เป็นหมู่บ้าน หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ที่มีความสวยงามประณีต และมีชื่อเสียงของ อ.ไชยปราการ สินค้าหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา บ้านสันทรายสามารถส่งออกเป็น สินค้า OTOP และสินค้าออกต่างประเทศมานาน โดยที่นักท่องเที่ยว สามารถเข้าชมกระบวนการผลิตได้ ทุกวัน

ภาพ




หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสูน (ภูแสนดาว)
หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสุน เรียกอีกอย่างว่า ภูแสนดาว อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000 เมตร มีเรือนรับรอง ลานกางเต็นท์ สิ่งอำนวยความ สะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน และสามารถ ยังมองเห็นอำเภอไชยปราาการทั้งอำเภอได้ สวยงาม ทั้งเวลา กลางวันและกลางคืน แต่สามารถรองรับ นักท่องเที่ยวจำนวนจำกัดเพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ และไม่มีการเปิดเครื่องเสียง เสียงดังอย่างเด็ดขาด

ภาพ


กาดเมืองผี
กาดเมืองผี ในภาษาเหนือ หมายถึง ตลาดเมืองผี ตามตำนานเชื่อว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นตลาดเมืองผี มาก่อนเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดเป็นแท่งหิน เสาหิน รูปร่างต่างๆ ที่วิจิตรงดงามยิ่งดั่งประติมากรรม ของมนุษย์ ตั้งอยู่ที่บ้านทรายขาว ม.7 ต.ศรีดงเย็น

ภาพ





อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา มีอาณาเขตครอบคลุม พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝางและป่าสงวน แห่งชาติ ป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย มีลักษณะภูมิประเทศเป็น เทือกเขาสลับ ซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็น แนวแบ่งเขต จังหวัดเชียงใหม่-เชียงราย มียอดดอย สูงสุด คือ ดอยเวียงผา มีความสูง 1,834 เมตร

ภาพ


เขื่อนแม่ทะลบหลวง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ แห่งเดียวของอำเภอ ไชยปราการ มีบริการ ล่องเรือ ร้านอาหารเมนูปลา เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับท่องเที่ยวนิยมกีฬาตกปลา ตั้งอยู่ ที่ ต.แม่ทะลบ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่

แผนที่แหล่งท่องเที่ยว


spa แหล่งสินค้า OTOP
1. กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง
บ้านมิตรอรัญ ม. 4 ต.ปงตำ สนใจติดต่อ น.ส.ประทุม ดวงศรี 0-5387-0202

ภาพ


2. กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยง(OTOP)
บ้านห้วยบง ต.ปงตำ สนใจติดต่อ นางจารุณี บีทุ 0-8792-2250-1

ภาพ


3. กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า (OTOP)
บ้านแม่ขิ 174 ม.1 ต.ศรีดงเย็น สนใจติดต่อ นางจันทร กิติคำ 0-8910-3155-9

ภาพ


4. กลุ่มทอเสื่อกกผู้สูงอายุ (OTOP)
บ้านหนองบัว ชมรมผู้สูงอายุ บ้านหนองบัว สนใจติดต่อ นายคำ ไคร้แก้ว 0-8498-6548-3

ภาพ


5. กลุ่มจักสาร
-บ้านแม่ขิหล่ายฝาง ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนายสุข หมื่นอาภัย 0-8102-2574-2 -บ้านด้ง ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อ นางจันทนา ชินายี 0-8619-4713-8

ภาพ


7. กลุ่มแปรรูปผลิตทางการเกษตร
- บ้านท่า ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อ นางทองเหรียญ พีระ 0-8690-7808-9 - บ้านเด่น ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางแสงเดือน บุญก้ำ 0-8717-7203-2 - บ้านป่ารวก ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางอำพร พุทธชัย 0-8618-9788-2 - บ้านห้วยไผ่ ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางพรพรรณ คำพิงค์ชัย 0-8067-3223-7

ภาพ


8. กลุ่มทำพริกลาบ
- บ้านศรีดงเย็น ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางอรทัย พรมใหม่ 0-8619-6043-9 - บ้านอ่าย ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางอัญชลี จุมปาจม 0-8443-4854-1 - บ้านเด่น ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางแสงเดือน บุญก้ำ 0-8717-7203-2

ภาพ


9.กลุ่มเลี้ยงหมู
บ้านอินทาราม สนใจติดต่อ นางสุกันธน แก้วจันทร์ตา 0-8619-0887-9

ภาพ


10.กลุ่มเพาะเห็ด
บ้านห้วยม่วง ต.ปงตำ สนใจติดต่อ นางนงนุช พุทธชัย 0-8955-6527-4

ภาพ


11.กลุ่มผลิตมันกันยา
บ้านปงตำ ต.ปงตำ สนใจติดต่อ นางอัมพร มงคลเทพ 0-8926-5655-8

ภาพ


12. กลุ่มแปรรูปอาหาร
- บ้านท่า ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางวิไลพร ลีลาคุณากร 0-8138-6989-5 - บ้านมิตรอรัญ ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางทองเงิน ศรีนวล 0-8170-6189-9 - บ้านแม่ขิหล่ายฝาง ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางราตรี แข่งขัน 0-8219-6980-9 - บ้านทรายขาว ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ สนใจติดต่อนางดวงพร ทามณี 0-8793-4541-1

ภาพ


language สนามกีฬาในเขต
สนามกีฬาในเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ
เทศบาลตำบลไชยปราการได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย จึงได้ได้สนับสนุนการดำเนินการสร้างลานกีฬาและที่ออกกำลังกายเพื่อสนับสนุนให้เยาวชน ประชาชน ได้หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด เพื่อให้มีสถานที่สำหรับออกก าลังกาย ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และพื้นที่สร้างสรรค์เชิงบวก   โดยดำเนินการจัดลานกีฬาทั้งภายในเทศบาลตำบลไชยปราการ และหมู่บ้าน ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ จำนวน 20 หมู่บ้าน ดังนี้ 1. สนามกีฬากลางภายในเทศบาลตำบลไชยปราการ จำนวน 3 สนาม และสนามเครื่องเล่นออกกำลังกาย จำนวน 1 แห่ง 2. ลานกีฬาแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 20 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 2.1. ลานกีฬาบ้านปงตำ หมู่ที่ 1 ต.ปงตำ 2.2. ลานกีฬาบ้านท่า หมู่ที่ 2 ต.ปงตำ 2.3. ลานกีฬาบ้านปางควาย หมู่ที่ 3 ต.ปงตำ 2.4. ลานกีฬาบ้านมิตรอรัญ หมู่ที่ 4 ต.ปงตำ 2.5. ลานกีฬาบ้านป่ารวก หมู่ที่ 5 ต.ปงตำ 2.6. ลานกีฬาบ้านห้วยม่วง หมู่ที่ 6 ต.ปงตำ 2.7. ลานกีฬาบ้านห้วยบง หมู่ที่ 7 ต.ปงตำ 2.8. ลานกีฬาบ้านทุ่งยาว หมู่ที่ 8 ต.ปงตำ 2.9. ลานกีฬาบ้านแม่ขิ หมู่ที่ 1 ต.ศรีดงเย็น 2.10.ลานกีฬาบ้านแม่ขิหล่ายฝาง หมู่ที่ 2 ต.ศรีดงเย็น 2.11.ลานกีฬาบ้านศรีดงเย็น หมู่ที่ 3 ต.ศรีดงเย็น 2.12.ลานกีฬาบ้านอินทาราม หมู่ที่ 4 ต.ศรีดงเย็น 2.13.ลานกีฬาบ้านอ่าย หมู่ที่ 5 ต.ศรีดงเย็น 2.14.ลานกีฬาบ้านทายขาว หมู่ที่ 7 ต.ศรีดงเย็น 2.15.ลานกีฬาบ้านดงป่าสัก หมู่ที่ 9 ต.ศรีดงเย็น 2.16.ลานกีฬาบ้านเชียงหมั้น หมู่ที่ 15 ต.ศรีดงเย็น 2.17.ลานกีฬาบ้านด้ง หมู่ที่ 17 ต.ศรีดงเย็น 2.18.ลานกีฬาบ้านเด่น หมู่ที่ 1 ต.หนองบัว 2.19.ลานกีฬาบ้านห้วยไผ่ หมู่ที่ 2 ต.หนองบัว 2.20.ลานกีฬาบ้านหนองบัว หมู่ที่ 3 ต.หนองบัว

สนามเครื่องเล่นออก กำลังกาย



สนามฟุตซอล



สนามฟุตบอล 7 คน



สนามฟุตบอลขนาดใหญ่



สนามกีฬา ในอาคารอเนกประสงค์ชั้นลอย



ภาพ