messager
 
เทศบาลตำบลไชยปราการ call ข้อมูลการติดต่อ


เทศบาลตำบลไชยปราการ
อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-457369 - 71 Fax : 053-457360

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลไชยปราการ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
check_circle กองช่าง
ถามตอบเกี่ยวกับกองช่าง
ถาม : กองช่างให้บริการประชาชนในเรื่องใดบ้าง ตอบ : - บริการประชาชนในเรื่องงานเกี่ยวกับก่อสร้างในเขตเทศบาล การใช้เครื่องจักรกล - บริการถมที่ทางสาธารณะ รวมทั้งระบบน้ำและปะปาสาธารณะ, ท่อระบายน้ำสาธารณะ, จัดสวนสาธารณะ, ช่วยเหลือซ่อมแซมปรับปรุงบ้านผู้ยากไร้, ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าสาธารณะ - บริการออกใบอนุญาตก่อสร้างบ้าน, ลื้อถอนอาคาร, ดัดแปลงอาคาร, หนังสือรับรองการก่อสร้าง เป็นต้น ถาม : การขออนุญาตก่อสร้างต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง และมีขั้นตอนขออนุญาตอย่างไร ตอบ : เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต มีดังนี้ 1.บัตรประชาชน (ฉบับจริง) 2.ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริง) 3.โฉนดที่ดิน (ฉบับจริง) แต่ถ้าติดธนาคาร ให้นำสำเนาพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 4.(ถ้ามี) หนังสือยินยอม (ฉบับจริง) กรณีที่ผู้ขออนุญาตก่อสร้างและเจ้าขอที่ดิน ไม่ใช่บุคคลเดียวกัน 5.แบบแปลนแบบบ้าน (ฉบับจริง) 6.(ถ้ามี) หนังสือมอบอำนาจ (ฉบับจริง) กรณีที่ผู้ขออนุญาตก่อสร้างไม่สามารถมา ด้วยตนเองได้ให้มีหนังสือมอบอำนาจ โดยที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องเตรียมเอกสาร ตามข้อ 1 และ2 ของผู้รับมอบอำนาจมาด้วย ส่วนผู้มอบอำนาจให้เตรียมเอกสาร สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย ขั้นตอนการขออนุญาต มีดังนี้ 1. ยื่นเอกสารขออนุญาตตามที่กำหนดให้ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่รับเรื่อง 2. ช่างจะตรวจสอบเอกสารและออกไปตรวจพื้นที่ก่อสร้างอาคาร ใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน 3. ถ้าแบบแปลนถูกต้องตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และฉบับปรับปรุงที่ 5 พ.ศ.2558 จะสามารถออกใบอนุญาตได้ ภายใน 2 วัน 4. ถ้าแบบแปลนไม่ถูกตาม พรบ.ควบคุมอาคาร กองช่างจะเรียนผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ไปแก้ไขแล้วกลับมายื่นเรื่องใหม่อีกครั้งต่อไป 5. ถ้าแบบแปลนผ่าน จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารมาเสียค่าธรรมเนียม ณ เทศบาลตำบลไชยปราการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : การขอใบอนุญาตปลูกสร้าง ต่อเติม ดัดแปลงอาคาร สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ ที่นี่ หรือ เบอร์โทร : 053-457370 ต่อ 602, 902

check_circle ระเบียบ/กฎหมาย
ถามตอบเกี่ยวกับงานนิติการ
ถาม : งานนิติการ สำนักปลัดเทศบาลตำบลไชยปราการให้บริการในเรื่องใดบ้าง ตอบ : 1. รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ เกี่ยวกับการไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือได้รับความเดือดร้อน จากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย 2. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ประนีประนอมยอมความ เพื่อมิให้มีคดีขึ้นสู่กระบวนการในชั้นศาล ที่มีค่าใช้จ่ายสูง 3. ช่วยเหลือและประสานงานกับหน่วยงานทางด้านกระบวนการยุติธรรมเพื่อประสานความร่วมมือ ในการช่วยเหลือประชาชน 4. ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย จัดทำนิติกรรมสัญญา พินัยกรรม โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ถาม : งานนิติการ สำนักปลัดเทศบาลตำบลไชยปราการ สามารถดำเนินคดี เสมือนเป็นทนายความให้กับประชาชน ผู้มาขอรับบริการได้หรือไม่ ตอบ : งานนิติการ ไม่สามารถเข้าไปดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนการทางศาลให้กับประชาชนที่มาขอรับบริการได้ แต่สามารถให้คำปรึกษาถึงแนวทางและกระบวนการต่างๆ ได้ รวมถึงช่วยเหลือประสานงานกับหน่วยงานทางด้ปรึกษาปัญหาด้านกฎหมาย ที่เป็นภาคีในการช่วยเหลือ ทางด้านทนายความให้ได้ ถาม : งานนิติการ สำนักปลัดเทศบาลตำบลไชยปราการ มีภาคีที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายใดบ้าง ตอบ : 1. ศูนย์ดำรงธรรม อำเภอไชยปราการ 2. ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลปงตำ 3. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและการบังคับคดี จังหวัดเชียงใหม่ (สาขาฝาง) ซึ่งหน่วยงานภาคีจะเป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทการให้ความช่วยเหลือ ในการจัดหาทนายความ เพื่อดำเนินกระบวนการทางศาลแก่ผู้มีรายได้น้อย ช่วยเหลือในการจัดหาทนายความ เพื่อดำเนินกระบวนการทางศาลแก่ผู้มีรายได้น้อย ช่วยเหลือเงินค่าตอบแทนผู้ที่ได้รับความเสียหาย จากการกระทำผิดทางอาญา กรณีความผิดต่อชีวิต, คดีประมาทจราจร ที่ตนมิได้เป็นผู้มีส่วนในการกระทำความผิด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ขอคำปรึปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายหรือรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ได้ ที่นี่ หรือ เบอร์โทร : 053-457370 ต่อ 901

check_circle การจัดเก็บภาษี
ถามตอบเกี่ยวกับ งานพัฒนารายได้ กองคลัง
ถาม : กองคลังให้บริการในเรื่องใดบ้าง ตอบ : กองคลังรับชำระภาษี ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ 1. โรงเรือนและที่ดิน ตั้งแต่เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี 2. ภาษีป้าย ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี 3. ภาษีบำรุงท้องที่ ตั้งแต่เดือน มกราคม- เมษายน ของทุกปี ถาม : หากเสียภาษีเกินกำหนดต้องเสียเพิ่มอย่างไร ตอบ : ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ถ้าไม่ได้ชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถือว่าผู้นั้นค้างชำระ และต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราต่อไปนี้ 1. ถ้าชำระไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ให้คิดเงินเพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง 2. ถ้าเกินหนึ่งเดือนแต่ไม่เกินสองเดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง 3. ถ้าเกินสองเดือนแต่ไม่เกินสามเดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง 4. ถ้าเกินสามเดือนไม่เกินสี่เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 แห่งค่าภาษีค้าง ภาษีป้าย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้ 1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อย 10 ของค่าภาษีป้ายเว้นแต่ กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษี 2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อย10 ของค่าภาษีของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอ แก้ไขแบบแสดงรายการภาษีให้ถูกต้องก่อน ที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน 3. ไม่ชำระภาษีป้ายภายในกำหนดเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ เจ้าของที่ดินผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ต้องเสียเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้ 1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีบำรุงท้องที่ ี่เว้นแต่กรณีที่เจ้าของที่ดินได้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีบำรุงท้องที่ 2. ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีบำรุงท้องที่ที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีเจ้าของที่ดินได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการที่ดินให้ถูกต้องก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน 3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้องต่อเจ้าพนักงานสำรวจ โดยทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของภาษีบำรุงท้องที่ที่ประเมินเพิ่มเติม 4. ไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน และไม่นำเงินเพิ่มตาม ข้อ 1 - ข้อ 4 มารวมคำนวณด้วย ถาม : ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไร ตอบ : ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือภาษีที่เรียกเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ประโยชน์อย่าง ต่อเนื่อง ไปกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น ถ้ากล่าวถึงโรงเรือนอาจยากที่จะเข้าใจความหมายว่าคืออะไร ซึ่งโรงเรือนในที่นี้หมายถึง อาคาร ตึกแถว บ้าน ร้านค้า สำนักงาน โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล ธนาคาร โรงเรียน อาคารชุด หอพัก คลังสินค้า เป็นต้น ส่วนสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ นั้นหมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างบนที่ดิน อย่างถาวร เช่น สะพาน ท่าเรือ ถังเก็บน้ำมัน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ รวมไปถึงที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรืองและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นการใช้ประโยชน์ไปด้วยกันบนที่ดินที่ต่อเนื่องกัน ถาม : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนคือใคร ตอบ : ในกรณีทั่วไปแล้วเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี คือผู้มีหน้าที่เสียภาษี ยกเว้นกรณีที่ที่ดินและโรงเรือน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นคนละเจ้าของกัน กำหนดให้เข้าของกรรมสิทธิ์อาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ถาม : ทรัพย์สินประเภทใดต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตอบ : โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น โดยมีเงื่อนไขว่าในปีภาษีที่ผ่าน มาได้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นไปในกิจกรรมดังนี้ 1. ให้เช่า 2. ใช้เป็นที่ค้าขาย 3. ใช้เป็นที่ไว้สินค้า คลังสินค้า 4. ใช้เป็นที่ประกอบอุตสาหกรรม 5. ให้ญาติ บิดา มารดา บุตร หรือผู้อื่นอยู่อาศัย 6. ใช้ประกอบกิจการอื่นๆ เพื่อหารายได้ และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย ถาม : คำถามทรัพย์สินประเภทใดไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตอบ : 1. พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน 2. ทรัพย์สินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง 3. โรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ ประกอบกิจการไม่ใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล 4. ศาสนสมบัติใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียวหรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์ 5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของไม่ได้อยู่เอง หรือให้ผู้อื่นอยู่ยกเว้นคนเฝ้า 6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออยู่อาศัยเอง ไม่ได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบ อุตสาหกรรม หรือกิจการเพื่อหารายได้ 7. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ที่เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่าบ้านพักอาศัยที่เจ้าของอยู่อาศัยเองนั้น โดยไม่ได้ใช้เป็นที่ประกอบกิจการ อุตสาหกรรม หรือคลังสินค้านั้นได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ถาม : ยื่นแบบแสดงภาษีและชำระภาษีได้ที่ใด ตอบ : ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.2) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ โดยยื่นได้ที่ ฝ่ายพัฒนารายได้ กองคลัง เทศบาลตำบลไชยปราการ โดยหลังจากยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะได้รับใบแจ้ง การประเมิน (ภ.ร.ด.8) ให้นำเอกสารดังกล่าวไปชำระภาษีภายใน 30 วันได้ที่ ฝ่ายพัฒนารายได้ กองคลัง เทศบาลตำบลไชยปราการ ติดป้ายแบบไหน ต้องเสียภาษีป้าย /td> ถาม : ภาษีป้ายคืออะไร ตอบ : ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ดตามตึกตามทางด่วน ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา ล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเราเปิดร้านกาแฟที่ตึกแถวชื่อร้านว่า "Incquity Coffee" ที่มีป้ายร้านเป็นแผ่นไม้ หน้าร้านหนึ่งอัน และเป็นในรูปแบบผ้าใบอันใหญ่อีกหนึ่งอันก็ต้องเสียภาษีทั้งหมด 2 ป้าย ด้วยอัตราภาษีที่ขึ้นอยู่กับ รูปแบบและขนาดที่กำหนด ถาม : ติดป้ายแบบไหน ไม่ต้องเสียภาษีป้าย ตอบ : ตามกฎหมายแล้วป้ายที่ต้องเสียภาษี คือ ป้ายใด ๆ ที่แสดงชื่อยี่ห้อที่ใช้ในการโฆษณาหรือหารายได้บนวัตถุต่าง ๆ แต่ว่ากฎหมายยังมีข้อยกเว้นหลายข้อ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้วิธีเหล่านี้ในการติดป้ายแทนป้ายแบบปกติทั่วไปได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีด้วยวิธีดังนี้ 1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ 2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า 3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว 4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์ 5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตาม กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ 6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน 7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ (ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 8. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่า ด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน นั้น 9. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน 10. ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ 11. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ 12. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ (ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนต์ (ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร ถาม : คำถามผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ตอบ : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบ แสดงรายการ ภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้น เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ หรือที่ดินที่ป้ายนั้น ติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ี่แจ้งการประเมินภาษี เป็นหนังสือ ไปยังบุคคลดังกล่าว ถาม : คำถามขั้นตอนการชำระภาษีป้าย ตอบ : 1. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความของป้าย จะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งใหม่ หรือที่เปลี่ยนแปลง ข้อความของป้ายใหม่ 2. การชำระเงินค่าภาษี 2.1 ผู้เป็นเจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายต้องชำระค่าภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน 2.2 กรณีที่เจ้าของป้ายยื่นแบบ (ภ.ป.1) แสดงรายการไว้ถูกต้องครบถ้วน และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบ แล้วถูกต้องจะแจ้ง การประเมินและชำระภาษีในวันที่ยื่นแบบฯ ได้ 3. อัตราค่าภาษีป้าย ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่ามีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว อันเป็นเหตุ ให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม ขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้าย ละ 200 บาท 4. การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี ถาม : การขอผ่อนชำระภาษี ตอบ : ถ้าภาษีป้ายที่ต้องชำระมีจำนวนตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดงวดละเท่า ๆ กันก็ได้ โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนครบกำหนดเวลาชำระภาษี และให้ชำระงวดที่หนึ่งก่อนครบกำหนดเวลา ชำระภาษี งวดที่สองภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันสุดท้าย ที่ต้องชำระงวดที่หนึ่งและงวดที่สามภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวด ที่สอง ถาม : การเสียเงินเพิ่ม ตอบ : การเสียเงินเพิ่ม คือ ไม่ได้ชำระภาษีป้ายตามกำหนดที่ควรเสีย ทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มด้วย โดยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เสียเงินเพิ่มนอก จากเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายในกรณีและอัตราดังนี้ (1) ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้า ของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้น ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละห้าของจำนวน เงินที่ต้องเสียภาษีป้าย (2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสิบของภาษีป้าย ที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่ พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน (3) ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับ เป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่ม ถาม : การอุทธรณ์ ตอบ : เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์ การ ประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถาม : ข้อกฎหมายและบทลงโทษมีอย่างไร ตอบ : 1. หากผู้ประกอบการจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท 2. ถ้าผู้ประกอบการจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ถาม : ภาษีบำรุงท้องที่เก็บจากอะไร ตอบ : ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ตามราคาปานกลางที่ดิน และตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ ที่ดินที่ต้องเสียภาษี ภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ ที่ดินที่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งกรรม-สิทธิในที่ดิน หรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ พื้นที่ดิน และพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย โดยไม่เป็นที่ดิน ทีเจ้าของ ที่ดินได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลดหย่อน ดังนั้นลักษณะของที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ คือที่ดินทุกประเภทไม่ว่าจะมีเอกสารสิทธิ์ หรือไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นที่ ว่างเปล่าหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่หรือไม่ และไม่ว่าจะใช้เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรืออยู่อาศัย ให้ผู้อื่นเช่า หรือใช้ประโยชน์ เองก็ตามที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่นั้น นอกจากพื้นที่ดินทั่วๆ ไปแล้วยังหมายความรวมถึงพื้นที่ทีเป็นภูเขา และ แม่น้ำด้วย ถาม : การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ตอบ : ให้เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.บ.ท.5) ณ กองคลัง เทศบาล-ตำบลไชยปราการ ทุกรอบระยะเวลา 4 ปี กรณี บุคคลใดเป็นเจ้าของที่ดิน ขึ้นใหม่หรือจำนวนเนื้อที่ดินเดิม เปลี่ยน แปลงให้เจ้าของที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่เจ้าของที่ดิน ขึ้นใหม่ หรือจำนวน เนื้อที่ดินได้มีการเปลี่ยนแปลง ถาม : การชำระค่าภาษี ตอบ : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปี การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี และ กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียภาษีเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินค่าภาษี ถาม : คำถามหลักฐานที่ต้องนำไปใช้ชำระภาษี ตอบ : 1. หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เช่น - โฉนดที่ดิน (น.ส.3) น.ส. 2 , ส.ค. 1 หรืออื่น ๆ 2. ใบเสร็จรับเงินครั้งสุดท้ายที่เคยชำระภาษีไว้ 3. สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ถาม : การชำระภาษี ตอบ : ชำระเป็นเงินสด /เช็ค/ตัวแลกเงิน ได้ ณ กองคลัง เทศบาลตำบลไชยปราการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ขอคำปรึปรึกษาปัญหาด้านกฎหมายหรือรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ได้ ที่นี่ หรือ เบอร์โทร : 053-457370 ต่อ 301, 302, 303, 304